วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอยสุเทพ

สถานที่ตั้ง


วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งอาณาจักรล้านนาราชวงศ์เม็งราย พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ใหญ่ ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการะบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่ ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำทักษิณาวัตรสามรอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้ทรงโปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6 วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์ และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
ในปี พ.ศ. 2100 พระมหาญาณมงคลโพธิ์ วัดอโศการาม เมืองลำพูนได้สร้างบันไดนาคหลวงทั้ง 2 ข้าง เพื่อให้ประชาชนขึ้นไปสักการะได้สะดวกขึ้น และกระทั่งถึงสมัยครูบาศรีวิชัย ท่านได้สร้างถนนขึ้นไป โดยถนนที่สร้างนี้มีความยาวถึง 11.53 กิโลเมตร เป็นวัดที่ดังมาก

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
 
วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนยอด ดอยสุเทพ เป็นหนึ่งในวัดของจังหวัดเชียงใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด ในวัดมีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่

พืชสวนโลก

งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554
The International Horticultural Exposition: Royal Flora Ratchaphruek 2011
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ 3 วโรกาสสำคัญของคนไทย คือ
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในปี พ.ศ. 2554
- สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในมหามงคลสมัยที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา  80 พรรษา ในปี 2555
- สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  ในโอกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา ในปี 2555
2. เพื่อแสดงศักยภาพให้นานาประเทศได้ทราบถึงความสามารถของคนไทยด้านการเกษตร
3. เพื่อเผยแพร่ความรู้ และเทคโนโลยีด้านพืชวสวนให้แก่ เกษตรกร นักวิชาการ เยาวชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดวิสัยทัศน์ และแนวคิดในการพัฒนาวิชาชีพพืชสวนให้ก้าวหน้า ตลอดจนเป็นการเพิ่มช่องทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้น
4. เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และบูรณาการด้านพืชสวนระหว่างประเทศ
5. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
6. เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งธุรกิจด้านการนำเข้าสิ่งออกผลิตผลการเกษตร ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม และธุรกิจบริการด้านต่างๆ
แผนที่

ดอยอินทนนท์

 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่อยู่ในท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม กิ่งอำเภอดอยหล่อ และอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ สามารถเข้าถึงได้โดยใช้เส้นทาง เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ไปยังอำเภอจอมทอง 50 กม. ระยะทางประมาณ 50 กม. เลี้ยวขวาตามถนนสาย จอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ประมาณ 8 กม. ก็จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติที่บริเวณน้ำตกแม่กลาง และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม. ที่ทำการอุทยานแห่งชาติจะตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31          

           พื้นที่ท่องเที่ยวและนันทนาการที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) และเส้นทางเดินป่าต่าง ๆ  
     เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เป็นเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติระยะสั้น เป็นวงรอบระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร สามารถวนรอบไปกลับในวันเดียว ตามหนทางจะผ่านไปสู่ป่าดงดิบริมธารน้ำ ขึ้นเนินผ่านป่าที่ห้อยระย้าด้วยมอส ฝอยลม หน้าฝนจะถูกปกคลุมด้วยหมอกขาวและอากาศที่หนาวเย็น สุดปลายทางมีทุ่งดอกไม้นานาชนิด เรียกว่าหายเหนื่อยกันเลยทีเดียว

          ยอดดอยอินทนนท์  ชมป่าดิบดึกดำบรรพ์ ซึ่งน้อยคนนักจะได้สัมผัสธรรมชาติที่แท้จริงของภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศ ที่นี่มีทั้งกล้วยไม้และพันธุ์ไม้ป่าที่สวยงามและหายาก นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานกู่พระอัฐิของพระเจ้าอินทวิชานนท์ ผู้ครองเชียงใหม่องค์ที่ 7 และเป็นที่ตั้งของสถานีเรดาร์ของกองทัพอากาศไทย จะมาฤดูไหนอุณหภูมิก็พร้อมเที่ยวเสมอที่ราว 5 – 18 องศาเซลเซียส

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ            ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท  
            เด็ก คนละ 10 บาท  
            กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม  
            กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก  

             รถจักรยาน 10 บาท/คัน  
             รถจักรยานยนต์ 20 บาท/คัน  
             รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท/คัน  
             รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท/คัน  
             รถยนต์ไม่เกิน 10 ล้อ 200 บาท/คัน  
เที่ยวเมืองเหนือ